ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาญฉลาด (Smart Learning Space) มีความพร้อมในด้านการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยได้มาตรฐานโดยสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และพันธกิจของมหาวิทยาลัยและตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในรูปแบบพลิกโฉมสำหรับวิถีใหม่ในยุคดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยสู่การเป็น มหาวิทยาลัยดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาค (Digital University)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการองค์กรอย่างมีคุณภาพมีระบบบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ยึดหลักธรรมาภิบาลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Happy Work Place/Smart Office)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาญฉลาด (Smart Learning Space)

เป้าประสงค์ : พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชาญฉลาด มีความพร้อมในด้านการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยได้มาตรฐานโดยสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และพันธกิจของมหาวิทยาลัยและตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในรูปแบบพลิกโฉมสำหรับวิถีใหม่ในยุคดิจิทัล

กลยุทธ์ 1.1 พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมในด้านการให้บริการสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ของมหาวิทยาลัยและตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

1.1.1 กำหนดนโยบายให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยมี ความร่วมมือกับอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอนในทุกหลักสูตรโดยการเชื่อมโยงกับอาจารย์ผ่านระบบจัดการในการเชื่อมโยงการกำหนดเอกสารตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแต่ละหลักสูตร
1.1.2 จัดหา และพัฒนา รูปแบบการให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศ สำหรับสนับสนุนด้านการเรียน การสอนและงานวิจัย ทั้งแบบ ออนไลน์ และ วอร์คอิน ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาและการวิจัย โดยกำหนดการมีส่วนร่วมของอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากร ในการจัดหา ในการกำหนดเอกสารตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแต่ละหลักสูตรแผนการสอนทุกรายวิชา โดยจัดทำฐานข้อมูล มคอ.ของ ทุกหลักสูตรในมหาวิทยาลัย
1.1.3 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะบูรณาการกับหลักสูตร โดยต้องทำงานประสานกับอาจารย์ผู้สอน และเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกัน
1.1.4 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะกับลักษณะผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันทางกายภาพ หรือทักษะการเรียนของผู้เรียนที่มีแตกต่างกัน
1.1.5 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ทันสมัย ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกทั้งในมิติของเนื้อหาที่สอดคล้องกับรายวิชา เข้าถึงได้ทั้งภายในและภายนอก
1.1.6 พัฒนาคลังความรู้ที่รวบรวมทรัพยากรการเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่เป็นผลงานทางวิชาการและ งานวิจัยของมหาวิทยาลัย ในรูปแบบคลังปัญญาของสถาบัน (Intellectual Repository) 1.1.7 พัฒนาและรวบรวมทรัพยากรการเรียนรู้ในรูปแบบฐานข้อมูลออนไลน์ เช่น แหล่งความรู้ในชุมชนผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำชุมชน ในศาสตร์ต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน
1.1.8 ส่งเสริมให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง (learn how to learn) เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learner) ด้วยการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (e-learning resources) ด้วยตนเอง เช่น คู่มือการใช้งานทรัพยากรต่างๆ วิดีโอสอนทักษะการรู้สารสนเทศ วิดีโอสอนการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มเสริมศักยภาพของผู้รับบริการ เป็น Smart User
1.1.9 พัฒนาระบบบริการ GetBook สำหรับการให้บริการส่งและรับทรัพยากรสารสนเทศ สำหรับการให้บริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและการให้บริการสำหรับ นักศึกษา อาจารย์ และผู้ใช้บริการผ่าน Mobile Application อุปกรณ์ อื่น ๆ ในรูปแบบ M-Services
1.1.10 พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแหล่ง จัดกิจกรรมของนักศึกษาและอาจารย์ และองค์กรภายนอก (Education and Exibition Park) สำหรับการให้บริการในรูปแบบการบริการวิชาการและการบริการเชิงพานิชย์
1.1.11 สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยระบบสารสนเทศเชื่อมโยงกับสถาบันอุดมศึกษาทั่ว ประเทศ ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ และการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัย

กลยุทธ์ 1.2 2 พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นแหล่งสนับสนุนในการส่งเสริมการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และการบริการการศึกษา (Virtual and Hybrid Classroom) มีกลวิธี(Tactic)นำไปสู่การปฏิบัติ

1.2.1 จัดฝ่ายสนับสนุนในการผลิต สื่อการเรียนการสอน หน่วยผลิตสื่อเทคโนโลยีการสอนการพัฒนาระบบ E-Learning ของมหาวิทยาลัย โดยความร่วมมือของคณะวิชา และหลักสูตร
1.2.2. ส่งเสริมและ สนับสนุนอาจารย์ในการผลิตสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ebook, Courseware ,MOOC,WBI สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ทั้งในระบบเปิดและระบบปิดโดยความร่วมมือของคณะวิชาและหลักสูตร

กลยุทธ์ 1.3 พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital library) โดยสมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ใน รูปแบบดิจิทัล หรือ เนื้อหาเอกสารเต็ม รูปแบบ (Digital Content) ได้ โดยตรงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่จากัดสถานที่ ระยะทางและระยะเวลา และช่วยลดข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่จัดเก็บ ทรัพยากรสารสนเทศ

1.3.1 ผลิตหรือแปลงรูปทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-thesis, e- research, e-textbook, e-clipping, e-archives ฐานข้อมูลผลงานวิชาการของอาจารย์ (ตำรา,บทความ,เอกสารคำสอน)
1.3.2 บอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-book, e-magazine, Online database
1.3.3 พัฒนาแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการ เช่น Web portal และแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละศาสตร์และสาขาวิชา
1.3.4 พัฒนา e-collection
1.3.5 พัฒนา e-Rare Item ในรูปแบบ AR (Augmented Reality)

กลยุทธ์ 1.4 พัฒนาและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ในทุกรูปแบบโดยบูรณาการศาสตร์ ให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รวมถึงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบดิจิทัลของมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนไป โดยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาอย่างมีคุณภาพ (Learning Support Center)

1.4.1 พัฒนาระบบการให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการผสมผสานและประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการและบริการสารสนเทศอย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องและเหมาะสม ในรูปแบบที่เข้าถึงผ่านระบบออนไลน์
1.4.2 พัฒนาระบบการจัดการ และฐานข้อมูล ที่เชื่อมโยงกับแผนการเรียนในรายวิชาให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างรายวิชาและฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศในการศึกษา โดยเร่วมมือกับคณะและหลักสูตร
1.4.3 พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Learning Environment /Educational Environment) ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อ พัฒนาองค์กรเป็นศูนย์กลางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning society) โดยพัฒนาพื้นที่ในการให้บริการซึ่ง ประกอบด้วย
           1.4.3.1 การใช้บริการสารสนเทศตามอัธยาศัย (Information common Space) เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย และให้อิสระในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเรียนรู้ โดยมีเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง เข้าถึง สามารถเข้าถึงสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกทั้งในระดับบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ หรือการบริการ 24 ชั่วโมง
           1.4.3.2 จัดพื้นที่ศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ (Academic zone) เป็นพื้นที่สำหรับการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการและวิจัย เน้นทรัพยากรสารสนเทศที่ตอบสนองการเรียนการสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่มีบรรยากาศวิชาการ ประกอบด้วย

  • พื้นที่และส่วนบริการที่เป็น Co-Working Space
  • พื้นที่และส่วนบริการที่เป็น Smart Study Conner
  • พื้นที่และส่วนบริการที่เป็น Creative Thinking Zone
  • มีพื้นที่และส่วนบริการที่เป็น Academic Sharing Space
  • มีพื้นที่และส่วนบริการที่เป็น Clean & Safety Zone

1.4.4 การบริการเชิงรุก เช่น จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการหลายๆ ช่องทาง เพื่อคอยเตือนหรือแจ้งข่าวอย่างสม่ำเสมอ อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและได้รับสารสนเทศ การบริการที่เน้นการเปิดรับคำถามหรือความต้องการจากภายนอกเพื่อเปิดประตูหน่วยงานออกสู่ชุมชนมหาวิทยาลัยให้มากยิ่งขึ้น บริการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ e-mail ,Line , Facebook, Chat Botในรูปแบบ Alert Information Service ผ่านระบบ Mobile Application
1.4.5 พัฒนาระบบสารสนเทศที่ส่งเสริมการพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการ โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลบทความวิชาการ วารสารออนไลน์ ในรูปแบบ My Virtual Desktop
1.4.6 มีระบบวิเคราะห์ข้อมูล เน้นการบริการผู้ใช้เฉพาะรายบุคคลหรือเฉพาะกลุ่ม
          1.4.6.1 ผู้ใช้บริการกลุ่มอาจารย์ ระบบข้อมูล Profile ของอาจารย์ เชื่อมโยงกับความสนใจ ความเชี่ยวชาญ และรายวิชาที่อาจารย์สอน ( U Connext )
          1.4.6.2 บริการสนับสนุนการวิจัย เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา การเขียนเอกสารอ้างอิง ,การอ้างอิง
1.4.7 นำทฤษฎีการตลาดมาประยุกต์ใช้ในงานบริการสารสนเทศ (Information professionals/specialists)
1.4.8 พัฒนาและปรับเปลี่ยนบทบาทผู้ให้บริการสารสนเทศและทีมงานให้มีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้ให้บริการควรเป็น smart information service provider มีลักษณะดังต่อไปนี้
          1.4.8.1 มีความรู้ความสามารถในการสอนทักษะการรู้สารสนเทศ ทักษะการรู้ดิจิทัล เพื่อให้ผู้ใช้มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอย่างหลากหลายได้มีประสิทธิภาพ โดยจัดอบรมเป็นหลักสูตรระยะสั้น ร่วมมือกับอาจารย์ผู้สอนในบางหัวข้อ เปิดสอนเป็นรายวิชาร่วมกับสาขาหรือหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย หรือจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ด้วยตนเองในระบบออนไลน์ หรือ e-learning ,MOOC
          1.4.8.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ โดยผู้ให้บริการมีบทบาทในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
          1.4.8.3 มีความรู้ความสามารถในการชี้แนะ รวบรวม และจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยมีการร่วมมือกับอาจารย์ มีการให้คำแนะนาผ่านช่องทางสื่อสารหลายช่องทาง เช่น e-mail Line ,Facebook ,U Connext

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยสู่การเป็น มหาวิทยาลัยดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาค (Digital University)

กลยุทธ์ 2.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอซีทีของมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อม มีความมั่นคงปลอดภัย สามารถใช้งานได้อย่างทั่วถึง โดยคำนึงถึง ประสิทธิภาพ มาตรฐาน ของ ระบบการให้บริการเครือข่าย อินเทอร์เน็ตและระบบแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ มีระบบระบบสำรองข้อมูล พร้อมทั้งระบบ ให้บริการเครือข่ายทั้งระบบใช้สายสัญญาณ และระบบไร้สายแก่บุคลากร และนักศึกษาได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัย สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และ รองรับอุปกรณ์หลากหลาย รูปแบบ (Super ICT Infrastructure)

2.1.1. พัฒนาระบบโครงข่ายการให้บริการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต(ICT Infrastructure)ให้ครอบคลุมพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยขยายช่องสัญญาณ(Bandwidth) เพิ่มความเร็ว(Speed) และพัฒนาจุดให้บริการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งแบบใช้สาย (Lan)และใร้สาย (Wifi)ให้บริการครบทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยให้มีเสถียรภาพในด้านความเร็ว การเชื่อมต่อ และความ ความปลอดภัย ภายใต้รูปแบบ เร็ว แรง ทั่วถึง (LINE /WIFI Coverage)
2.1.2. ให้บริการระบบ Cloud Computing เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในการสนับสนุนการเรียนการสอนการวิจัย และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ที่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพของคณะวิชาและองค์กรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย โดยมีระบบตรวจสอบการเข้าถึงและระบบสำรองข้อมูล ที่มีความมั่นคงปลอดภัยจากการโจมตีภายนอก และภายใน
2.1.3. พัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตทั้ง 5 แห่งของมหาวิทยาลัยให้เป็นเครือข่ายเดียวกันภายใต้รูปแบบ NEC (Network Enterprise Connect) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานบนเครือข่าย สำหรับการเรียนการสอนและการวิจัย ที่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพของคณะวิชาและองค์กรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้เกิดรูปแบบเทคโนโลยีทุกที่ทุกเวลาหรือยูบิควิตัส (Ubiquitous)
2.1.4. จัดหาอุปกรณ์ในการดำเนินการและตรวจสอบการใช้งานเครือข่าย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560

กลยุทธ์ 2.2 จัดหาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนการเรียนการสอน การบริหารจัดการมหาวิทยาลัย การจัดการข้อมูล การวางแผน การตัดสินใจ การบริการด้านบุคลากร ด้านนักศึกษา ด้านการเงิน ด้านการบริการวิชาการ และด้านการวิจัย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สูงสุด โดยหน่วยต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย บุคลากร อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา สามารถเข้าถึงโดยเครื่องมือและ อุปกรณ์ (ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ได้อย่างทั่วถึง สามารถเข้าถึงสื่อและความรู้ที่จัดเก็บในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างเพียงพอ (Smart Services/Learning)

2.2.1. จัดหาและพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนการสอนและการทำงาน ออนไลน์/ออฟไลน์ ที่มีมาตรฐานเพื่อรองรับการเรียนการสอนออนไลน์และการทำงาน ให้บริการแก่อาจารย์ และนักศึกษา
2.2.2 จัดหาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจ(ES,DSS) ที่ครอบคลุมทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย สามารถเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันได้และใช้งานง่าย ทั้งระดับปฏิบัติการและระดับบริหารผ่านระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการสนับสนุนการตัดสินใจ ครอบคลุมทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย
2.2.3 จัดหาและพัฒนาระบบให้บริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ที่สามารถรองรับการใช้งาน ด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายขอบเขตการให้บริการของมหาวิทยาลัย โดยการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สามารถรองรับการใช้งานด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลายสามารถเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกัน ใช้งานได้ง่ายและสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
2.2.4 จัดตั้งหน่วยพัฒนาซอฟแวร์และแอพพลิเคชั่น (Software & Application Developing Unit) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการให้บริการใน ด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยโดยบูรณาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาระบบของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนในการพัฒนา และการสำหรับให้บริการหน่อยงาน ภายนอก ในรูปแบบการให้บริการในเชิงพาณิชย์
2.2.5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green ICT) โดยพัฒนาระบบ สารสนเทศมหาวิทยาลัยที่สามารถลดการใช้ทรัพยากรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้หน่วยงานนำระบบสารสนเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการปฏิบัติงาน เช่นระบบ e-Doc ,e-Meeting, e-Wallet ระบบลงเวลา ระบบลาออนไลน์
2.2.6 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ องค์กรภาครัฐและเอกชนโดยการสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรด้านไอซีทีร่วมกัน การให้คำปรึกษาโดยการลงนามความร่วมมือในการสร้างความร่วมมือกันในระยะยาว อาทิเช่น NECTEC , สวทช, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(depa),สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ(SIPA),Software Park Thailand,Prosoft co.ltd,On Soft co,ltd

กลยุทธ์ 2.3 พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่มีคุณภาพและเชื่อมโยงทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย และชุมชนท้องถิ่น โดยการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องในด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและพันธกิจ ของมหาวิทยาลัยในทุกด้าน (Super Data)

2.3.1 พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางของมหาวิทยาลัย ซึ่งรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัย ประกอบด้านการจัดการศึกษา ข้อมูลนักศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และบุคลากร โดย มีมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานเอกสารเดียวกันเพื่อการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ ในรูปแบบ Cloud Computing Exchange ให้ได้มาตรฐานการบริการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ ( Government Data Center Modernization ) ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)(Digital Government Development Agency (Public
2.3.2 จัดตั้งศูนย์กลางการให้บริการข้อมูลระดับภูมิภาค (URU Data Center Services ) เพื่อรองรับข้อมูลด้านพันธกิจสัมพันธ์และ ข้อมูลอื่น ๆ เพื่อการบริการข้อมูลอาจารย์ นักวิจัยและชุมชนท้องถิ่น ในส่วนภูมิภาค พร้อมระบบบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ สามารถเข้าถึง ได้โดยสะดวก ปลอดภัย และหลายช่องทาง ในการนำไปใช้ประโยชน์ มีมาตรฐานการบริการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ ( Government Data Center Modernization ) ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)(Digital Government Development Agency (Public Organization))
2.3.3 พัฒนาระบบฐานข้อมูลเชื่อมโยง การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบธนาคารหน่วยกิจ (CBMS:URU Credit Bank Management System) ที่มีระบบรองรับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบธนาคารหน่อยกิจเชื่อมโยงส่วนกลางและของมหาวิทยาลัยรองรับการศึกษาต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.3.4 จัดตั้งกลุ่มพัฒนาและวิจัย ทางด้าน AI , Big Data , IOT ,Sensor , GIS สู่การพัฒนาด้านการศึกษาและการวิจัยโดยร่วมกับคณะและหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

กลยุทธ์ 2.4 พัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Re skill/Up skill /New Skill)ให้แก่ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการประยุกต์ใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรมและ จริยธรรม แก่ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ให้มีขีดความสามารถด้าน ICT มากขึ้น และ พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (Smart People) มีกลวิธี(Tactic)นำไปสู่การปฏิบัติ

2.4.1 การจัดอบรมให้ความรู้และทักษะด้าน ICT แก่ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา ในประเด็นที่ต้องมีการเข้าใจตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ การใช้ ซอฟแวร์ในการจัดการเรียนออนไลน์
2.4.2 ส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการรู้สารสนเทศ (IL)เพื่อการศึกษา การใช้สื่อ (ML)อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพให้แก่นักศึกษา อาจารย์ และ บุคลากรของมหาวิทยาลัย
2.4.3 ส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Digital Literacy )เพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย
2.4.4 พัฒนารูปแบบการทดสอบสมรรถนะดิจิทัล ของมหาวิทยาลัย(Digital Skills Test and Developing University Unit) เพื่อทดสอบและพัฒนาทักษะดิจิทัล (DL,IL,ML)ให้ นักศึกษา อาจารย์ และ บุคลากรและบุคคลทั่วไป ที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานของระดับประเทศ

กลยุทธ์ 2.5 จัดหาและพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งแบบในที่ตั้ง(On Site)และออนไลน์ (Online) และรองรับการจัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Smart Support)

2.5.1 ส่งเสริมและเตรียมการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(Educational Technology)ในการจัดเรียนการสอนที่ให้นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ส่งเสริมด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learning Support Zone)
2.5.2 พัฒนาระบบห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ให้บริการสำหรับอาจารย์ ในการเรียนการสอน ที่มีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) อย่างเหมาะสม ในกิจกรรมการเรียนรูปแบบ Active Learning
2.5.3 พัฒนาห้องสำหรับจัดการเรียนและพัฒนาการสอนทางไกล (Distance Learning Classroom) ที่มีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ Active Learning ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และห้องพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับมวลชน(MOOC)
2.5.4 จัดหาและพัฒนาระบบการสร้างและให้บริการการจัดการศึกษาในรูปแบบออนไลน์ที่เป็นลักษณะครบถ้วนในรูปแบบที่เป็นการจัดการจัดการศึกษาออนไลน์ได้ตรงและครบตามรูปแบบการสอน โดยผู้สอนสามารถ สร้าง ครอสออนไลน์ได้เอง เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในหลักสูตรและรายวิชาที่มีความพร้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการองค์กรอย่างมีคุณภาพมีระบบบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ยึดหลักธรรมาภิบาลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Happy Work Place/Smart Office)

กลยุทธ์ 3.1 พัฒนารูปแบบการบริหารงานภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการดำเนินงานสภาพปัจจุบันและอนาคตโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและมหาวิทยาลัย

3.1.1พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีกลุ่มงานบริหารจัดการสำนักงานให้มีหน้าที่ ดำเนินการในส่วน ของงานบริหารจัดการทั่วไปของหน่วยงาน ,งานเอกสาร,งานงบประมาณและการประกันคุณภาพ
3.1.2 พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มงานวิทยบริการสารสนเทศให้มีหน้าที่ในการดำเนินงานด้านงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และคลังความรู้สถาบัน,งานสิ่งพิมพ์และเอกสารดิจิทัลและงานบริการสารสนเทศ ของสำนักวิทยบริการและ เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.1.3พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ ให้มีหน้าที่ดำเนินงานในส่วนของ ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัย, งานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการและสนับสนุนการสอนของมหาวิทยาลัย ,งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ,งานส่งเสริมและผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการเรียนการสอน
3.1.4 พัฒนาเชื่อมโยงของแต่ละกลุ่มงานที่สอดคล้องกับภารกิจของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อหาจุดร่วมกันพัฒนาในภาพรวมขององค์กร
3.1.5 พัฒนาระบบบริหารจัดการ โดย ลดขั้นตอน ส่งเสริมใช้เทคโนโลยี จัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร โดยเน้นความเชี่ยวชาญในการบริการ
3.1.6 จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ของบุคลากร โดยการเข้าอบรมสัมมนา เชิญวิทยากรมาบรรยาย รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ และส่งเสริมให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในหน้าที่
3.1.7 สร้างขวัญกาลังใจให้บุคลากรในการทำงานอย่างมีความสุข มีสุขภาวะในการทำงานที่ดีสร้างประสิทธิภาพทำงานโดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
3.1 8 บริหารตามหลักธรรมาภิบาล ดำเนินงานอย่างโปร่งใส และตรวจสอบได้
3.1.9 แสวงหารายได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.1.10 พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณการใช้กระดาษใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การใช้มาตรการประหยัดพลังงานให้เป็นอาคารประหยัด พลังงาน เป็นต้น
3.1.11 พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม แสวงหาความร่วมมือด้าน องค์กรสีเขียว เช่น การทำ Green collection
3.1.12 บริหารจัดการและให้บริการให้เป็น eco-Building โดยยึดหลักการ Reduce Reuse Recycle เช่น การนำครุภัณฑ์ของเก่ามาดัดแปลง ให้เกิดประโยชน์ได้ใหม่
3.1.13 พัฒนาองค์กรให้มีความปลอดภัยด้านทรัพย์สินและด้านชีวอนามัย เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นและความปลอดภัยด้านโรคติดต่อทุกประเภทสำหรับผู้ใช้บริการ

กลยุทธ์ 3.2 พัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งในงานวิชาการตามงานที่รับผิดชอบทุกระดับเพื่อประสิทธิภาพและความเข้มแข็งขององค์กร

3.2.1 สนับสนุนให้มีการพัฒนาระดับความรู้ของบุคลากรโดยให้มีการศึกษาต่อในระดับ ที่สูง ขึ้นในสาขาวิชาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่
3.2.2 ให้การสนับสนุนในการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพบรรณารักษ์และนักสารสนเทศในวิชาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ วิชาชีพทางด้านเทคโนโลยี ในการพัฒนาบุคลากร
3.2.3 พัฒนาบุคลากรโดยการ ฝึกอบรม เพิ่มความรู้ ในการทำงาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3.2.4 ให้สวัสดิการในด้านการปฏิบัติงานแก่บุคลากรและสร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากร

กลยุทธ์ 3.3 พัฒนาองค์กรให้มีแผนการพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้(KM) เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมถึงจัดองค์กรเป็นแหล่งฝึกวิชาชิพของนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

3.3.1 สร้างทัศนคติร่วมของคนในสำนัก ฯ ให้สามารถมองเห็นภาพรวมขององค์กร และมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกันในการนำพาองค์กรสู่เป้าหมาย
3.3.2 สร้างจิตสำนักในการใฝ่รู้และมีการเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กัน อย่างสม่ำเสมอ
3.3.3 สร้างจิตร่วมขององค์กรและบุคลากรให้มีความตระหนักในสถาบันพระมหากษัติย์โดยให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสต่าง ๆ
3.3.4 จัดการองค์กรและบุคลากรในการเป็นหน่วยงานจัดการ พัฒนาและฝึกวิชาชีพนักบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ นักคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

Input your search keywords and press Enter.